วิธีเช็คสุขภาพน้องหมาให้ปลอดภัยโรค

การตรวจสุขภาพลูกสุนัขเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงทุกคนควรต้องรู้และสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

1.การสังเกตเป็นเครื่องมือที่เราสามารถนำมาใช้ตรวจความผิดปกติของลูกสุนัขได้เป็นอย่างดี สามารถบอกเราได้ทั้งความผิดปกติทางพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติของอาการต่าง ๆ ในร่างกายได้ – สังเกตภาพรวมของลูกสุนัข เวลาที่ลูกสุนัขป่วยเรามักจะสังเกตพบว่า น้องหมาจะซึม ไม่ร่าเริง ไม่วิ่งเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างเช่นเคย ไม่อยากกินอาหารใดเลย – สังเกตอวัยวะตามลำตัว แต่ละอวัยวะ ลูกสุนัขผอมหรืออ้วน ผิวหนังและขนของลูกสุนัขเป็นอย่างไร มีบาดแผล มีการบวมตรงไหนบ้าง มีเห็บ มีหมัดหรือไม่ ลูกสุนัขมักเป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกแบบเฉพาะที่ – สังเกตดวงตา จมูก หู และช่องปาก ลูกสุนัขที่ป่วยจะมีขี้ตาเกรอะกรัง ตาขาวแดง เยื่อบุตาบวมแดง กระจกตาขุ่น อาจพบแผลหลุมที่ตาดำ บางตัวหรี่ตา มีน้ำตาไหลมาก – สังเกตการเคลื่อนไหวของลูกสุนัข ลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญของกระดูกผิดปกติ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว หากมีความผิดปกติจะเดินยกขา วางน้ำหนักลงเท้าไม่สมบูรณ์ เดินเซ เดินวน เดินเอียง เดินชนสิ่งของ ไม่ลุก ลุกลำบาก ทรงตัวไม่อยู่ หรือขาอ่อนแรง – สังเกตการขับถ่าย ลูกสุนัขควรจะขับถ่ายทุกวัน อุจจาระที่ดีต้องไม่แข็งหรือเหลวมากเกินไป (ลักษณะเหมือนผลมะขามสุก) หากถ่ายเหลวมากกว่าวันละ 3 ครั้ง ถ่ายกองเล็กๆ บ่อยๆ หรือถ่ายออกมามีมูกเลือดหรืออาหารไม่ย่อยปะปนออกมา อาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าสัตว์กำลังป่วยได้ครับ

2. จมูกของเราใช้ตรวจหาความผิดปกติลูกสุนัขได้ แต่ไม่ถึงกับต้องก้มหน้าลงไป แล้วเอาจมูกจ่อดมตัวของลูกสุนัขใกล้ๆ นะครับ คือ ต้องการจะสื่อให้เห็นว่า พวกกลิ่นปาก กลิ่นตัว หรือแม้แต่กลิ่นหู สามารถบอกความผิดปกติได้

3. เสียงต่าง ๆ จากลูกสุนัขก็เป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติได้ เสียงไอ เสียงจาม บ่งบอกถึงความเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ รูปแบบของเสียงไอก็ใช้แยกโรคบางโรคได้เช่นกัน เช่น หากสุนัขไอเสียงแบบก้องกังวานคล้ายเสียงห่านร้อง อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดลมตีบแคบได้

4. การตรวจร่างกายลูกสุนัขด้วยมือ ผ่านการสัมผัส ลูบคลำ มีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาความผิดปกติภายในร่างกายได้ เช่น ถ้าต่อมน้ำเหลืองโต เราสามารถคลำพบได้ การที่ต่อมน้ำเหลืองโต บ่งบอกถึงการอักเสบและติดเชื้อของร่างกายได้ ฯลฯ น้องหมาที่เป็นฝีที่ผิวหนัง ก็สามารถคลำพบลักษณะจะเป็นก้อนได้เช่นกัน การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงด้วยตัวเองเป็นประจำ จะทำให้เราทราบได้ว่า โดยปกติแล้วลูกสุนัขของเราเป็นอย่างไร เมื่อใดที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น เราก็สามารถทราบได้โดยง่าย


PuppyBoost อาหารเสริมพลังงาน สุนัข และแมว เหมาะสำหรับลูกสัตว์แรกเกิด ที่อ่อนแอ อุณหภูมิต่ำ กระตุ้นให้ลูกสัตว์ดูดนมได้ดีขั้น สัตว์ที่เผชิญกับสภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ หรือสภาวะเครียด มีกรดอะมิโนที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน การกระตุ้นการเผาผลาญ (catabolism และ anabolism) และมี วิตามิน A, B1, B2, B3, B5, B6, C, ไบโอตินและ D3 และสารสกัดจากโสม #นำเข้าจากฝรั่งเศส
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3iiejwK

5 โรคร้ายในน้องหมาในช่วงหน้าฝน

1.โรคระบบทางเดินหายใจส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ในลูกสุนัขจะรุนแรงกว่า สุนัขจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ มีน้ำมูกใสๆ จนถึงสีเขียวข้น มีขี้ตามากกว่าปกติ มักพบอาการไอ หายใจเร็ว และถี่ ในรายที่เป็นมากอาจจะหายใจลำบาก อ้าปากหายใจ บางตัวนอนไม่ได้ นั่งหอบหายใจทั้งวัน

2.โรคพยาธิเม็ดเลือดในช่วงหน้าฝนมีอาการร้อนชื้นจะส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของเห็บมากขึ้น สุนัขติดเชื้อจากการถูกเห็บกัด หรือกินเห็บที่มีเชื้อเข้าไป มีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ สีเหงือกซีดกว่าปกติ หรือมีภาวะตัวเหลือง เลือดกำเดาไหล ปัสสาวะสีแดง มีจุดเลือดออกตามตัว เกล็ดเลือดต่ำ เลือดจาง ในรายที่รุนแรงอาจพบมีปัญหาตัวหรือไตอักเสบ บางรายมีภาวะภูมิคุ้มทำลายตัวเองและอาจเสียชีวิตลงได้หากรับการรักษาไม่ทัน

3. โรคผิวหนังติดเชื้อในช่วงหน้าฝนสัตว์มีโอกาสเปียกฝน หรือไปเล่นน้ำสกปรก ความชื้นผิดปกติ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดความผิดปกติความสมดุลของแบคทีเรียผิวหนัง ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีแผลแล้วติดเชื้อตามมา อาจจะพบเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อยีสต์ อาการคือ คัน ขนร่วง อาจร่วงเป็นวงเล็กๆ หรือกระจายทั่วตัว บางครั้งพบตุ่มหนอง สะเก็ด รังแค ผื่นแดง ถ้าเป็นนานอาจทำให้ผิวหนังกลายเป็นสีดำ พบรอยโรคสัมพันธ์กับจุดอับชื้น เช่น รักแร้ ขาหนีบ ใต้อก ใต้ท้อง

4.โรคท้องเสียในช่วงนี้สุนัขอาจไปเลียกินน้ำสกปรอก หรือ ชามอาหารปนเปื้อนเชื้อ มีเหตุให้ท้องเสียได้ สุนัขจะถ่ายเหลว อาจมีมูก หรือเลือดปนได้ หากเป็นรุนแรง จะถี่มากกว่าปกติ ซึม ไม่ทานอาหาร หรือทานแล้วก็อาเจียนออกมา ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะมีภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย น้ำตาลต่ำ และเป็นเหตุให้ช็อกได้

5. ภาวะเครียดหรือวิตกกังวลอาจเกิดจากความเครียด หรือความฝังใจตั้งแต่เป็นลูกสุนัข หรือการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนเจ้าของบ่อยๆ ในช่วงหน้าฝน ยิ่งมีเสียงฟ้าผ่า ฝนตก หรืออยู่ตัวเดียวนานขึ้น ก็ทำให้เกิดความกลัว พัฒนาเป็นความเครียดสะสมได้ อาการของโรคมีหลายกลุ่มอาการ แสดงออกเมื่ออายุ 12-36 เดือนขึ้นไป เป็นไม่มากอาจจะตัวสั่น หางตก หนีไปซ่อนตัวเมื่อมีสิ่งกระตุ้นให้กลัว เห่าแบบไม่มีสาเหตุ เห่าเวลากลางคืน เล่นลดลง บางตัวเป็นมากๆ อาจมีปัสสาวะ อุจจาระหรือถ่ายเหลว โดยนอกจากวินิจฉัยรักษาโรคแล้ว ต้องปรับพฤติกรรมของสุนัข สอนให้ผ่อนคลาย นวดผ่อนคลาย ฝังเข็ม หากมีปัญหามากๆต้องใช้ยาคลายเครียด

——————————————————————

PuppyBoost เหมาะกับ อาหารเสริมพลังงาน สุนัข และแมว เหมาะสำหรับลูกสัตว์แรกเกิด ที่อ่อนแอ อุณหภูมิต่ำ กระตุ้นให้ลูกสัตว์ดูดนมได้ดีขั้น สัตว์ที่เผชิญกับสภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ หรือสภาวะเครียด มีกรดอะมิโนที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน การกระตุ้นการเผาผลาญ (catabolism และ anabolism) และมี วิตามิน A, B1, B2, B3, B5, B6, C, ไบโอตินและ D3 และสารสกัดจากโสม #นำเข้าจากฝรั่งเศสอ่านเพิ่มเติมได้ที่https://bit.ly/3iiejwK

5 สัญญาณน้องหมาของคุณกำลังเครียด

🙋‍♀️🙋 ไม่ว่าจะเป็นของมนุษย์หรือว่าสัตว์อย่างสุนัขก็เครียดได้เช่นกัน ซึ่งสุนัขเครียดง่ายกว่าที่คุณคิด ความเครียดในสุนัขมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม การถูกล่ามโซ่ไว้ทั้งวัน การเปลี่ยนกิจวัตร เสียงดัง ความเบื่อหน่าย ไม่มีอะไรมากระตุ้นให้มีความสุข 🐶🐶

ตัวกระตุ้นความเครียดของสุนัขเช่น วิธีที่ใช้ในการลงโทษสุนัข หรือ การให้อาหารไม่ตรงเวลา👉👉 โดยสิ่งที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้ คือ สัญญาณที่บอกว่าสุนัขของคุณกำลังเครียดและวิธีบรรเทาให้เขารู้สึกสบายใจขึ้นได้

1. ตัวสั่น ถ้าสุนัขของคุณตัวสั่น คุณควรทำให้เขารู้สึกปลอดภัยโดยการพาไปในสถานที่ที่เขาชอบ

2. ขนร่วงเยอะเกินไป ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ อย่าพาเขาไปในสถานที่ใหม่ๆ หรือคลินิกเพราะจะยิ่งทำให้กลัวและขนร่วง

3. หาวและนอนบ่อย

4. หอนหรือเห่ามากเกินไป มาจากความเครียดที่คุณอาจล่ามเขาไว้นานเกินไปจนทำให้อารมณ์ขุ่นมัว ไม่ได้ออกกำลังกายเลยเครียด

5. หมาดูหงอยๆ ส่วนใหญ่จะมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เครียดหรือที่ที่มีเสียงดังๆ อย่างฟ้าผ่าหรือเสียงประทัด สิ่งที่จะแก้ปัญหาของเจ้าหมาได้ก็คือพาไปหาสัตวแพทย์แล้วหาสาเหตุที่แท้จริงแล้ววิธีที่ทำให้หมาเครียดน้อยลงมีอะไรบ้างมาดูกัน

✅ ให้เวลากับหมามากขึ้นก็จะลดความเครียดของเขาลงได้

✅ ไม่ทำโทษเขาตอนเขาเครียด

✅ สร้างสถานที่ที่ปลอดภัยให้หมาของคุณ เป็นที่ที่เขาจะหลีกหนีสถานการณ์ที่พาให้เครียดได้อย่างมีแขกมาบ้านหรือมีปาร์ตี้

✅ เลือกอาหารที่คุณภาพดีให้เขา เพราะเมื่ออาหารการกินดี หมาก็จะเครียดน้อยลงุ

✅ นวดให้หมาเครียดน้อยลง

✅ถ้าเห็นนิสัยหมาของคุณเปลี่ยนไปให้ลองไปปรึกษาสัตวแพทย์ดูงายๆแค่นี้น้องหมาก็รักเรามากขึ้นแล้ว 🙂❤️❤️

———

สามารถหาซื้อ PuppyBoost และ Colo Boost ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วที่ สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

Lazada https://bit.ly/30RLi4b

Shopee https://bit.ly/30RLpwD

Line Official https://lin.ee/YZkOC2g

เทคนิคดูแลสุนัขสูงวัยให้มีอายุยืนยาว

เทคนิคดูแลสุนัขสูงวัยให้มีอายุยืนยาว 🐶🤗

1.ดูแลเรื่องโภชนาการ สุนัขแก่ฟันจะผุและหัก ทำให้ต้องกินอาหารอ่อนๆ

2.สุนัขแก่จะกินอาหารได้น้อยลง คนเลี้ยงต้องปรับสัดส่วนอาหารต่อมื้อให้เหมาะสมกับความต้องการ

3.สุนัขแก่ควรกินอาหารวันละ 2 เวลา ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรให้กินอาหารมากเกินไปเพราะระบบย่อยอาหารจะทำงานหนักซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของสุนัขที่มีอายุมากๆ

4.อาหารสุนัขแก่ ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงการให้อาหารประเภทที่มีน้ำตาล และไขมัน

5.ดูแลเรื่องสุขภาพ ควรพาสุนัขเดินออกกำลังกายหรือเดินเล่นตามสวนสาธารณะ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ

6. สุนัขที่แก่มาก เดินไม่ได้ควรทำกายภาพบำบัด ทำให้สุนัขรู้สึกผ่อนคลายและยังทำให้สุนัขได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

สามารถหาซื้อ PuppyBoost และ Colo Boost ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วที่ สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

Lazada https://bit.ly/30RLi4b

Shopee https://bit.ly/30RLpwD

Line Official https://lin.ee/YZkOC2g

3 สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกสัตว์แรกคลอดเสียชีวิต

3 สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกสัตว์แรกคลอดเสียชีวิต

1. อุณหภูมิในร่างกายต่ำลง มีความไม่สมดุล มักเกิดกับลูกสุนัขที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ เช่น แม่ป่วย แม่ไม่ยอมเลี้ยงลูก ลูกสุนัขแรกเกิดจะต้องให้ความอบอุ่นเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย การที่ลูกสุนัขมีอุณหภูมิในร่างกายต่ำลง ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดมีปัญหา หัวใจเต้นช้าลง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การหายใจช้าลง ยิ่งส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดต่ำได้ จึง ต้องรีบทำการแก้ไขทันที โดยการเพิ่มอุณหภูมิให้กับลูกสุนัข ด้วยการย้ายลูกสุนัขมาอยู่ในที่ที่อบอุ่น เช่น ให้อยู่ในกล่องหรือในตะกร้า และทำการกกไฟ ถ้าหากลูกสุนัขอยู่ในสถานที่หนาวเกินไป เนื่องจากลูกสุนัขยังไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายไว้ได้ จะทำให้ลูกสุนัขเสียชีวิตได้

2. แม่สุนัขมีน้ำนมไม่เพียงพอ เมื่อแม่สุนัขตั้งท้อง เจ้าของสุนัขควรให้ความสำคัญด้วยการให้แม่สุนัขได้กินอาหารที่มีประโยชน์ จะทำให้แม่สุนัขมีสุขภาพสมบูรณ์ มีน้ำนมที่เพียงพอแก่การเลี้ยงลูกสุนัข เมื่อแม่สุนัขมีน้ำนมไม่เพียงพอต่อลูกสุนัข ทำให้ลูกสุนัขไม่ได้กินนม โดยที่เจ้าของสุนัขไม่ได้ป้อนนมกระป๋องเสริมให้แก่ลูกสุนัข ทำให้ร่างกายของลูกสุนัขไม่แข็งแรง และสมบูรณ์ จึงทำให้ลูกเริ่มตัวนิ่มลง และไม่มีแรงที่จะคืบคลาน

3. ลูกสุนัขเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ ลูกสุนัขบางตัวอาจกินกินนมน้อย มีอาการท้องเสีย อาเจียน หรือเกิดภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำ จึงเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

——————————————————————

PuppyBoost เหมาะกับ อาหารเสริมพลังงาน สุนัข และแมว เหมาะสำหรับลูกสัตว์แรกเกิด ที่อ่อนแอ อุณหภูมิต่ำ กระตุ้นให้ลูกสัตว์ดูดนมได้ดีขั้น สัตว์ที่เผชิญกับสภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ หรือสภาวะเครียด มีกรดอะมิโนที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน การกระตุ้นการเผาผลาญ (catabolism และ anabolism) และมี วิตามิน A, B1, B2, B3, B5, B6, C, ไบโอตินและ D3 และสารสกัดจากโสม #นำเข้าจากฝรั่งเศสอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3iiejwK#PuppyBoost#อาหารเสริมพลังงานสุนัขและแมว

หากคุณสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของคุณกำลังตั้งท้องหรือไม่ ?

ขอแนะนำ รวมเทคนิคดูว่า ตั้งครรภ์ หรือไม่

1. เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปสุนัขอาจจะฉุนเฉียวง่ายขึ้นในบางตัว ไม่ยอมให้จับท้อง แต่สำหรับสุนัขบางตัวก็อาจจะติดเจ้าของมากขึ้น อ้อนมากขึ้น ทั้งๆ ที่แต่ก่อนไม่ค่อยจะชอบหาเราเท่าไหร่ หรือหากสุนัขบางตัวที่ชื่นชอบการวิ่งเล่นออกกำลังกายมากๆ กลับเอาแต่นอนอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ยอมทำกิจกรรมอะไรเลยนั่นก็อาจเป็นสัญญาณได้เช่นกัน

2. ทานอาหารน้อยลงและอาจมีการอาเจียนร่วมด้วยคล้ายๆ อาการแพ้ท้องของมนุษย์เราสุนัขก็มีอาการแบบนี้ด้วยเช่นกัน ในช่วง 2 สัปดาห์แรกที่ตั้งท้องสุนัขบางตัวอาจมีอาการเบื่ออาหารและอาเจียนออกมา แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกตัวนะ

3. เต้านมใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนสีต่อมน้ำนมของสุนัขจะเริ่มเปลี่ยนไปเพื่อรอรับการกำเนิดมาของเหล่าสุนัขคอกใหม่ โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและสีของหัวนมจะมีขนาดเข้มขึ้นเพราะมีเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น4. มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดซึ่งหากเป็นเมือกใสๆ ไหลออกมาเล็กน้อยนั่นถือเป็นเรื่องปกติ โดยเราจะพบการไหลของเมือกนี้ได้ประมาณหลัง

4 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่หากสุนัขมีเลือดออกมาพร้อมกับน้ำเมือกด้วยนั่นอาจเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพ

5. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากที่อาการแพ้ท้องหมดไปแล้วสุนัขจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ให้ลองชั่งน้ำหนักแต่ละสัปดาห์ไว้เปรียบเทียบดู

5 เทคนิคเลี้ยงน้องหมาให้ยืนยาว

5 เทคนิคเลี้ยงน้องหมาให้ยืนยาวต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าสุนัขมีอายุเท่าไรอายุไขของน้องหมาจะมีอายุอยู่ที่ 6-20ปี+ กันเลยทีเดียว มาแนะนำเทคนิคดูแล

เลือกอาหารที่มีคุณค่าอาหารสุนัขไม่ว่าจะเป็นแบบสำเร็จรูป หรือจะให้อาหารเอง ต่างก็มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน อาหารสำเร็จรูปก็มีหลายราคา ซึ่งจะให้สารอาหารที่ครบถ้วน แต่ก็จะทำให้สุนัขเบื่อได้เมื่อกินเป็นระยะเวลานาน ส่วนการให้อาหารเองนั้น ถ้าให้อาหารเดิมๆ ก็เสี่ยงที่จะทำให้ขาดสารอาหารบางชนิดได้ ดังนั้นควรให้อาหารสับเปลี่ยนกันบ้าง และไม่ควรให้อาหารที่ผ่านการปรุงรส ไม่ว่าจะเป็น ตับย่าง ไก่ย่าง ถ้าหากกินเป็นระยะเวลานาน จะทำให้สุนัขป่วยเป็นโรคไตได้ รวมไปถึงอย่าให้อาหารมากเกินไป จะให้สุนัขเป็นโรคอ้วนตามมา

ออกกำลังกายบ้างตามโอกาสขนาดคนยังออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี สุนัขก็ควรออกกำลังกายเหมือนกัน การออกกำลังกายของสุนัขวิธีที่ง่ายที่สุด คือการพาไปเดินเล่น อย่างน้อยควรจะพาสุนัขไปเดินเล่น อาทิตย์ละ 4-5ครั้ง ผลโดยตรงคือทำให้สุนัขแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ และการพาสุนัขไปเดินเล่นยังจะช่วยให้สุนัขเครียดน้อยลงอีกด้วย

อย่าปล่อยให้สุนัขเครียดความเครียดของสุนัขมีสาเหตุได้จากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย การถูกรุกล้ำอาณาเขต มีการเปลี่ยนเจ้าของกะทันหัน หรือการมีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้สุนัขเครียดได้ แต่สิ่งเหล่านี้ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดความเครียดน้อยที่สุด

หลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน หรือโรคไต ที่กล่าวมาไว้ในเบื้องต้น จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลเป็นอย่างดี ส่วนโรคผิวหนัง ก็ควรรักษาความสะอาดของสุนัขให้เรียบร้อย และโรคที่น่ากลัวอย่างโรคพยาธิหนอนหัวใจ จะมียุงเป็นพาหะ สามารถหลีกเลี่ยงยุงได้ยาก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยยาจุดกันยุงสำหรับสุนัข ซึ่งจะช่วยป้องกันยุงได้เช่นกัน

คนที่เป็นเจ้าของสุนัข ต่างก็รักสุนัขของตนเองด้วยกันทั้งนั้น อยากให้เขามีชีวิตที่ยืนยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งเราควรให้ความรักและเวลากับเขา ความรักเป็นสิ่งที่สุนัขสามารถรับรู้ได้ เมื่อปฏิบัติตามดังที่กล่าวมาในข้างต้นด้วย เชื่อได้เลยว่าจะทำให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างแน่นอน

5 วิธีดูแล น้อง เมื่อไปเทียว

1. ฝึกให้คุ้นชินสุนัขบางตัวมีอาการตื่นกลัวรถ ฉะนั้นต้องทำให้เค้าไว้ใจเสียก่อน ด้วยการหัดให้นั่งรถหรือกินอาหารบนรถแบบไม่ต้องสตาร์ทเครื่อง โดยมีคุณอยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา ทำบ่อยๆ จนคุ้นชิน แล้วค่อยเริ่มพานั่งรถออกไปทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อให้น้องหมาจำว่าการนั่งรถเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวนั่นเอง

2. เช็กสุขภาพก่อนเดินทางควรพาสุนัขไปตรวจเช็กสุขภาพก่อนการเดินทาง พร้อมขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์ เช่น อยู่ในภาวะที่เหมาะกับการเดินทางมั้ย หรือกรณีที่มีอาการเมารถ สิ่งที่ควรทำคือให้เค้ากินอาหารก่อนเดินทางไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงหรือไม่กินอิ่มจนพุงป่อง เพราะอาจทำให้อาเจียนออกมาได้ฮะ

3. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสายคล้องคอ สายจูง สายรัดนิรภัยสำหรับหมา กรง ของกิน ของเล่น รวมถึงอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น ยารักษาโรค ถุงพลาสติก ทิชชู ฯลฯ ซึ่งคุณต้องเตรียมให้พร้อมเสมอ เผื่อหยิบใช้ได้สะดวกไม่ต้องกังวลระหว่างการเดินทางครับ

4. จัดตำแหน่งที่นั่งภายในรถถ้าน้องหมายังไม่คุ้นชินกับการนั่งรถ ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด คือ เบาะด้านหลัง เพราะจะได้ไม่ทำคุณเสียสมาธิระหว่างขับรถ โดยคุณสามารถใช้แผ่นรองกันเปื้อนในรถยนต์สำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อช่วยป้องกันขนร่วงติดเบาะรถ รอยขูดขีดบนเบาะหรือคราบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดินทางได้

5. สังเกตอาการตลอดทางหากระหว่างเดินทางน้องหมาของคุณมีอาการผิดปกติ เช่น ซึม คอตก น้ำลายไหล อาจเป็นไปได้ว่าเมารถ ให้คุณรีบหยุดรถทันทีและพาลงมาเดินเล่นหรือรับลมผ่อนคลายความตึงเครียดสักครู่ แต่ถ้าน้องหมามีอาการกระวนกระวาย เห่าไม่หยุด ให้หาของเล่นหรือขนมขบเคี้ยว จะช่วยเบนความสนใจให้เค้าสงบลงได้และที่สำคัญควรหาข้อมูลโรงพยาบาลหรือคลินิกสัตว์ใกล้ๆ เส้นทางที่คุณจะไป รวมถึงมีคนช่วยดูแลสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของคุณให้อยู่ในสายตาตลอดเวลา หากรถยนต์คันเล็กเกินไป น้องหมาอาจเกิดอาการเครียดหรืออึดอัดได้ แนะนำให้ใช้รถที่มีพื้นที่กว้างๆ หรือจัดการให้รถดูกว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้น้องหมาหรือสัตว์ของนั้นรู้สึกเคลียดน้อยลงนะครับแค่นี้ก็ทำให้การเดินทางของเราและน้องหมาของเราก็จะสนุกตลอดการเดินทาง

5 ข้อดีของการเลี้ยงสุนัข

1.สุขภาพหัวใจดีขึ้นสุนัขไม่เพียงเติมเต็มหัวใจของคุณให้พองโต แต่พวกมันยังทำให้หัวใจเราแข็งแรงขึ้น การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการอยู่ร่วมกับสุนัขมีแนวโน้มที่จะทำให้ความดันโลหิตลดลง ลดคอเลสเตอรอล และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งช่วยให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมดีขึ้น อีกทั้งยังลดการเกิดหัวใจวายได้ด้วย

2. ทำให้คุณฟิตและกระตือรือร้นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรใช้เวลาสัก 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์สำหรับการออกกำลังกาย ซึ่งคนที่เลี้ยงสุนัขมีโอกาสที่จะทำเป้าหมายนี้สำเร็จได้ง่ายกว่า ส่วนหนึ่งก็เพราะการพาจ้าสุนัขไปเดินเล่นก็เป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งเหมือนกันการศึกษาชิ้นล่าสุดของ Gerontologist พบว่าคนชราที่ออกไปเดินเล่นกับสุนัข “มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า, มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมประจำวันน้อยกว่า, ไปพบแพทย์น้อยกว่า สุขภาพเป็นปกติมากกว่า และออกกำลังกายอย่างกระฉับกระเฉงได้” ซึ่งนั่นเป็นดั่งรางวัลสุดพิเศษเลยหล่ะ

3. ช่วยลดน้ำหนักคุณอยากลดน้ำหนักลงไหม? พาเจ้าสุนัขมาและเริ่มกันเลย งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การออกไปเดินกับสุนัขประจำวันช่วยคุณลดน้ำหนักได้ เนื่องด้วยพวกมันจะบังคับให้คุณต้องไปทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายอย่างน้อยก็ 10 – 30 นาที ต่อครั้ง ข้อมูลจากการศึกษาชิ้นเล็กๆ อันหนึ่งพบว่า ผู้ที่อาศัยในบ้านการเคหะแล้วออกไปเดินกับสุนัขให้เช่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ น้ำหนักจะลดลงโดยเฉลี่ย 6.5 กิโลกรัม เมื่อปฏิบัติครบหนึ่งปี โดยส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เข้าร่วมคิดว่ามันเป็นความรับผิดชอบต่อสุนัขมากกว่าเป็นการออกกำลังกาย พวกสุนัขจำเป็นต้องให้พวกเขาพาออกไปเดิน

4. ช่วยลดอาการซึมเศร้าเป็นที่เชื่อโดยกว้างขวางว่า เจ้าของสุนัขมีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่เลี้ยงสุนัข โดยข้อเท็จจริงนั้นยังคงซับซ้อน แต่สุนัขช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในหลายๆ ด้านของเราให้ดีขึ้นได้รวมถึงในด้านอารมณ์ด้วย และยิ่งในกรณีของสุนัขบำบัดก็จะยิ่งเข้าใจผู้ป่วยและช่วยยกระดับได้ดีขึ้นไปอีกด้วย

5. เพิ่มความหมายและเป้าหมายในชีวิตสำหรับคนแก่ที่ไม่ค่อยมีเป้าหมายในชีวิต หรือใช้ชีวิตไปโดยไร้แบบแผนในแต่ละวัน สุนัขจะช่วยเข้ามาสร้างเป้าหมายในชีวิตให้แก่พวกคุณ พวกมันจะบังคับให้คนเราต้องทำสิ่งต่างๆ เพราะไม่ว่าคุณจะสุขภาพร่างกายไม่ดีหรือจิตใจเหนื่อยล้ายังไงก็ตาม สุนัขก็ยังต้องการให้คุณนำอาหารมาให้และพาออกไปเดินเล่นอยู่ดี ไม่ได้หมายความว่าพวกมันไม่เป็นห่วงนะ แต่นั่นเป็นเหมือนกิจวัตรประจำวันที่คุณต้องทำเพื่ออาศัยอยู่ร่วมกันนั่นแหละ สุนัขยังช่วยป้องกันความเหงาหงอย และความโดดเดี่ยวได้อีกด้วย ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการกำจัดปัญหาด้านความรู้สึกนึกคิดและโรคร้าย มันช่วยให้เราไม่ต้องนึกถึงแต่ความต้องการของตนเอง แต่เป็นเหตุผลหนึ่งในการตื่นเช้าขึ้นมาแล้วทำให้คุณตระหนักรู้อยู่เสมอว่า คุณยังมีอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องดูแลและให้ความรักความอบอุ่นแก่มันอยู่ด้วยและมีอีกมากมาย#PuppyBoost#อาหารเสริมพลังงานสุนัขและแมว??

เทคนิคการเลี้ยงลูกสุนัขแรกเกิด

ลูกหมาหลังคลอด มักเสียชีวิตจาก

1. การได้พลังงานหรืออาหารไม่เพียงพอ

2. การทนความหนาวหรือการปรับตัว เพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้  และ

3. เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงมีโอกาสติดเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้นการเลี้ยงดูลูกหมาควรคำนึงถึงคือ

1.ภายใน 3 วันแรกหลังคลอด ลูกหมาต้องได้รับการกินนมน้ำเหลือง (colostrum อ่านว่าโคลอสตุ้ม) จากแม่ ซึ่งเป็นนมที่มีภูมิต้านทานโรคสูง เนื่องจากภูมิต้านทานโรคจากแม่ถ่ายทอดผ่านทางรกในขณะที่อยู่ในท้องได้น้อยมาก จึงต้องพยายามจับให้ลูกทุกตัวกินนมให้ได้ โดยเฉพาะ 24 ชมแรกหลังคลอด แม่หมาที่ได้รับการผ่าคลอด อาจมีนมน้อย แต่ยังต้องพยายามจับลูกดูดนมแม่ เต้านมที่ได้รับการกระตุ้นบ่อยๆจะสร้างน้ำนมปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์นมโคลอสตุ้มออกมาจำหน่ายแล้ว

2.ถ้าแม่หมาได้รับการผ่าคลอด หลังจากฟื้นจากยาสลบ อาจไม่รู้จักลูกตัวเอง หรือ อาจยังเจ็บแผลผ่าตัดอยู่ เมื่อนำลูกไปดูดนมแม่ แม่อาจกัดได้ คนเลี้ยงต้องคอยสังเกตอาการของแม่ อาจให้เริ่มจากการดมก่อน ถ้าแม่ยอมรับ ค่อยให้ลูกดูดนม

3.กรณีที่น้ำนมแม่ไม่พอ ก็สามารถซื้อนมลูกสัตว์ป้อนเสริมให้ได้ การใช้นมแพะหรือนมโค จะมีคุณค่าอาหารน้อยกว่านมลูกสัตว์ และ อาจทำให้ท้องเสียได้

4.ควรมีไฟกก อยู่สูงจากลูกสัตว์อย่างน้อย 1-2 ฟุตขึ้นไป กรณีลูกสัตว์นอนสุมกันแสดงว่าลูกหนาว แต่ถ้านอนแยกๆ กัน หรือ หนีห่างจากโคมไฟ แสดงว่า ร้อน ถ้าลูกเลี้ยงรวมกับแม่ ก็ไม่จำเป็นต้องมีไฟกก เพราะลูกมักนอนสุมอยู่ใกล้ตัวแม่ แต่ควรระวัง แม่สุนัขทับลูกตัวเอง และ ควรดูแลความสะอาดของที่อยู่ของแม่-ลูกอย่างสม่ำเสมอ

5.กรณีที่กินนมแล้วลูกยังร้อง ไม่ยอมนอน ท้องแฟบ หมายถึงลูกยังกินไม่อิ่ม แต่ถ้าท้องกางๆ และ ไม่ยอมนอน แสดงว่าลูกมีอาการท้องอืด

6.หลังการดูดนม แม่มักเลียบริเวณอวัยวะเพศ เพื่อกระตุ้นการขับถ่าย กรณีที่แม่ไม่ยอมทำ ให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่น เช็ดถูเบาๆ บริเวณอวัยวะเพศ ลูกสัตว์จะขับถ่ายออกมา และ ควรทำทุกครั้งหลังการดูดนม

7.ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ลูกจะกินนมทุก 2-3 ชม. ในสัปดาห์ที่ 3-4 จะกินนมทุก 3-4 ชม ควรชั่งน้ำหนักลูกทุกวัน และน้ำหนักลูกควรเพิ่ม 5-10 % ทุกวัน

8.เมื่อลูกอายุ 4 สัปดาห์ ควรให้ลูกหัดเลียอาหาร โดยใช้อาหารลูกสัตว์ผสมนมหรือน้ำให้อาหารเละๆ และ ใส่จานให้หัดเลียกิน โดยให้อาหารสลับกับการดูดนมได้

9.ลูกหมา จะลืมตา และ หูจะได้ยินเมื่ออายุประมาณ 10-14 วัน

10.ควรหย่านมลูกหมาที่อายุ 6 สัปดาห์

11.เมื่อพบอาการผิดปกติ เช่น ท้องเสีย ท้องอืดมาก ลูกไม่โต น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น มีอาการซึม ควรปรึกษาสัตวแพทย์ รวมทั้งการวางแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การถ่ายพยาธิ และการควบคุมเห็บหมัด